top of page

ชาวประมงพื้นบ้านเกาะปูลาโต๊ะบีซู

หมู่บ้านปูลาโต๊ะบีซู อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส


คาดหวังไว้ว่าจะสามารถลดภาระหนี้ได้ในปีแรกถึง 10% ถ้าสำเร็จดังหวังเราเชื่อว่าในปีต่อๆ ไปก็จะสามารถลดภาระหนี้ได้เพิ่มขึ้น และในท้ายที่สุดถึงแม้จะใช้เวลาหลายปี เราจะเห็นภาพตัวเองและชาวบ้านปูลาโต๊ะบีซู สามารถปลดหนี้ได้ทั้งหมด

ในห้วงมรสุมปูลาโต๊ะบีซู

หมู่บ้านปูลาโต๊ะบีซู เป็นเกาะอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 500 เมตร มีประชากรราว 800 คน ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ซึ่งสามารถออกเรือทำประมงได้ปีละ 6 เดือน หรือหากมีมรสุมก็จะทำประมงได้เพียงปีละ 4 เดือนเท่านั้น ปลาที่จับได้ก็จะมีปลากระบอก หมึก กุ้ง และปลาเล็กต่างๆ ที่ติดมากับอวน ในช่วงฤดูมรสุมชาวบ้านแถบนั้นไม่สามารถออกเรือทำประมงได้ จึงเกิดภาวะว่างงานไร้อาชีพเสริม ขาดรายได้ บ้างออกไปทำงานต่างถิ่น พอหมดฤดูมรสุมจึงกลับมาออกเรืออีกครั้ง ซึ่งต้องหาหยิบยืมเงินจากนายทุนเนื่องจากขาดเงินสะสมจากช่วงว่างงานประมง จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาระหนี้สินสะสมเรื้อรังจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อจับปลามาได้ก็ต้องส่งขายให้กับนายทุนที่เราหยิบยืมเงินก่อน ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด ทำให้ไม่สามารถหลุดจากวงจรชีวิตนี้ได้





ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงาม

มีการรวมกลุ่มวางแนวทางข้อตกลงระหว่างนายทุนโดยเมื่อจับปลามาได้ ส่วนหนึ่งขายให้กลับนายทุนที่เรากู้ยืมเงินมาอีกส่วนหนึ่งชาวบ้านสามารถนำไปบริหารจัดการเองได้ โดยจะแบ่งเป็นการขายปลาสดเองโดยตรงกับแบ่งไว้สำหรับแปรรูปเพื่อเก็บไว้ขายในยามมรสุมเพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปในช่วงนั้น โดยคาดหวังไว้ว่าจะสามารถลดภาระหนี้ได้ในปีแรกถึง 10% ถ้าสำเร็จดังหวังเราเชื่อว่าในปีต่อๆ ไปก็จะสามารถลดภาระหนี้ได้เพิ่มขึ้น และในท้ายที่สุดถึงแม้จะใช้เวลาหลายปี เราจะเห็นภาพตัวเองและชาวบ้านปูลาโต๊ะบีซู สามารถปลดหนี้ได้ทั้งหมด


นางสาวรอฮานี ยูโซ๊ะ

ชาวประมงพื้นบ้านเกาะปูลาโต๊ะบีซู

หมู่บ้านปูลาโต๊ะบีซู อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

1 view0 comments

© 2020 สถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน
Institute for Local Economy Foundation

bottom of page