
เกื้อกูลความรู้
รวมข้อมูล ทฤษฎี เครื่องมือ กรณีศึกษา งานวิจัย
เศรษฐกิจชุมชน ครอบคลุม การเสริมสร้างศักยภาพ
ธุรกิจชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เครือข่ายความร่วมมือ การบูรณาการร่วมกับสังคม นวัตกรรม
และการประยุกต์ใช้
หมวดหมู่บทความงานวิจัยที่น่าสนใจ
Empowerment Local Enterprise
เสริมศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น
> Market Research: การศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าตรงตามความต้องการมากที่สุด
> R&D (Product/Service): วิจัย และพัฒนา สินค้า/บริการให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมจุดแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
> Financial and Cost Management: การบริหารจัดการการเงิน และต้นทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีสุขภาพการเงินที่ดี
> Management: การบริหารจัดการธุรกิจ, การผลิต, ห่วงโซ่อุปทาน, การขนส่ง, ความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์
> Branding: สร้างแบรนด์ อัตลักษณ์ เพื่อสร้างการจดจำ, ขยายโอกาสทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า
> Entrepreneurial capacity: การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ
Local Economic Development
การพัฒนาเศษฐกิจท้องถิ่น
> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
>Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น
Social Integrated
ความรับผิดชอบต่อสังคม
> support local community activity (sharing): สนับสนุนกลุ่มคน/กิจการ/กิจกรรมภายในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาร่วมกัน อาทิ การให้แบ่งปันความรู้ และทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มเปราะบาง
> enchanting social well-being: การเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของท้องถิ่น เสริมความเข้มแข็ง ความสามัคคี และลดความเหลื่อมล้ำภายในท้องถิ่น
เลือกค้นหาบทความงานวิจัยจากหมวดหมู่
บทความงานวิจัยทั้งหมด
60
Insights to research on the entrepreneurial process from a study on perceptions of entrepreneurship and entrepreneurs
ศึกษามุมมองของสังคมว่ามีอิทธิพลต่อกระบวนการผู้ประกอบการอย่างไร โดยจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริบททางวัฒนธรรม, สังคม และเศรษฐกิจ และยังเน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจมุมมองเหล่านี้เพื่อส่งเสริมการริเริ่มการเป็นผู้ประกอบการพร้อมทั้งปรับปรุงระบบสนับสนุน ในการศึกษานี้ค้นพบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมที่ถูกมองว่าเป็นลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จและทัศนคติของสังคมต่อการเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนานโยบาย, สภาพแวดล้อม และหลักสูตรการศึกษาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ
59
Regional Entrepreneurial Capacity
แนวคิดของ "ขีดความสามารถของผู้ประกอบการ" พร้อมด้วยการพัฒนาระบบการประเมินขีดความสามารถดังกล่าวในระดับภูมิภาค โดยพิจารณาจากขีดความสามารถของแรงงาน สภาพแวดล้อมทางสังคม และกรอบการทำงานของสถาบัน ทั้งยังศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค อาทิ การเข้าถึงตลาด, แหล่งเงินทุน, โอกาสทางการศึกษา และนโยบายสนับสนุน การศึกษานี้ยังเน้นความสำคัญของทัศนคติทางวัฒนธรรมต่อการเป็นผู้ประกอบการ และบทบาทของสถาบันในท้องถิ่นในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสนับสนุน ผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมกัน บทความนี้นำเสนอกรอบการทำความเข้าใจและปรับปรุงระบบนิเวศน์ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคอย่างครอบคลุม
58
Local enterprise facilitation
แนวคิดของการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจท้องถิ่น โดยมองว่าเป็นวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการสร้างงานในชุมชนท้องถิ่น รวมไปถึงการศึกษาแนวคิดเรื่องความเต็มใจในการทำงานแบบเดียว/แบบกลุ่ม, การไม่บังคับ, การเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเอง และความเชื่อมั่นต่อสายสัมพันธ์ของคนในท้องถิ่น โดยการนำหลักการ 'Trinity of Management' โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกในปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจท้องถิ่น ได้แก่ การผลิต/องค์กร, การบัญชีการเงิน และทักษะด้านการตลาด
57
LOCAL ENTREPRENEURSHIP: A DEVELOPMENT MODEL BASED ON COMMUNITY INTERACTION FIELD THEORY
โปรแกรมการศึกษาการเสริมสร้างการพัฒนา และการเติบโตของผู้ประกอบการ (EDGE) ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน, ส่งเสริมกิจกรรมการประกอบการ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมภายในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามบทความยนังเน้นย้ำถึงความท้าทายที่โครงการ EDGE ต้องเผชิญ อาทิ การขาดการบูรณาการเข้ากับท้องถิ่น, การได้รับการยอมรับอย่างจำกัด และการขาดการสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่น
สำรวจแบบจำลองการพัฒนาที่เน้นความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ในชุมชนในการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น แบบจำลองนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของทฤษฎีสนามปฏิสัมพันธ์ของชุมชน ซึ่งเสนอว่าการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืนนั้นสามารถทำได้ดีที่สุดผ่านการมีส่วนร่วมและความร่วมมือที่แข็งขันของสมาชิกในชุมชน ทฤษฎีนี้เน้นถึงความสำคัญของเครือข่ายสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรม และความรู้ท้องถิ่นในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและเพิ่มพูนความสามารถของพวกเขา การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่กิจการท้องถิ่นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชุมชนและทุนทางสังคมในการสร้างธุรกิจที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน
56
The role of universities in local economic development: A literature review
บทบาทความสำคัญของมหาวิทยาลัยในการยกระดับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจท้องถิ่นเมื่อต้องเผชิญกับภาวะโลกาภิวัตน์ โดยการให้การวิเคราะห์เชิงนโยบาย และการให้คำแนะนำด้านการพัฒนาทักษะทางธุรกิจของนักศึกษาและผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น อาทิ การสร้างองค์ความรู้, ปฏิสัมพันธ์ของบริษัทขนาดเล็ก, การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, ทรัพยากรมนุษย์, องค์กรขนาดใหญ่, อุปสงค์ในท้องถิ่น, การค้าระหว่างภูมิภาค และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการกำหนดรูปแบบเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างงาน, การเติบโตทางเศรษฐกิจ, การมีส่วนร่วมกับชุมชนและธุรกิจในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยยังสามารถสนับสนุนการพัฒนาโซ่อุปทานในท้องถิ่นและยกระดับมาตรฐานคุณภาพชึวิตให้ดีขึ้น
55
Local capacity, innovative entrepreneurial places and global connections: an overview
ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเน้นความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างระดับท้องถิ่นและระดับสากล ทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นผ่านการวิจัยตลาด, R&D, การสนับสนุนด้านการเงิน, การจัดการธุรกิจ, การสร้างแบรนด์ และการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ทั้งยังเน้นย้ำเรื่องการรับ/ปรับใช้เทคโนโลยีจากห่วงโซ่คุณค่าในระดับสากลให้เหมาะสมกับระดับท้องถิ่น และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
54
Entrepreneurial Capacities and Knowledge Development Processes – insights from a research project
แนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบการ และกระบวนการพัฒนาความรู้ในธุรกิจท้องถิ่นภูมิภาคยุโรป โดยสำรวจว่าองค์กรเหล่านี้มีการสร้าง และใช้ทักษะการประกอบการอย่างไร ในมุมมองของการวิจัยตลาด, การวิจัยและพัฒนา, การบริหารการเงิน, การจัดการธุรกิจ, การสร้างแบรนด์ และความสามารถในการประกอบการโดยรวม ทั้งยังรวมไปถึงความสามารถส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการประกอบการ อาทิ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความรู้ทางเทคนิค, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถด้านความสัมพันธ์และการสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม และความร่วมมือระหว่างธุรกิจท้องถิ่น โดยผ่านกรณีศึกษา และข้อมูลเชิงประจักษ์ต่างๆ มุ่งเน้นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาขีดความสามารถทางการประกอบการ และกระบวนการพัฒนาความรู้ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจท้องถิ่นผ่านการศึกษา และการฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านเชิงปฏิบัติจากแนวคิดไปสู่การตระหนักรู้
53
Absorptive capacity, entrepreneurial orientation, and organizational performance in state-owned companies
ความสัมพันธ์ระหว่าง Absorptive Capacity (ACAP) และ Entrepreneurial Orientation (EO) ต่อ Organizational Performance (OP) ในบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมองว่าปัจจัยทั้ง 2 มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และความสำเร็จขององค์กร ในงานวิจัยได้ให้นิยามของทั้ง 2 ปัจจัยดังนี้ ACAP คือ ความสามารถในการซึมซับ, เรียนรู้ และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพที่ดีขึ้น, EO คือ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งเชื่อมโยงกับความสามารถในการรับความเสี่ยง, ความสามารถในการทำงานเชิงรุก และนวัตกรรมขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
52
A new value-added strategy for the US beef industry: The case of US Premium Beef Ltd
ศึกษากลยุทธ์ US Premium Beef Ltd (USPB) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เนื้อวัวในตลาดสหรัฐฯ โดยเน้นที่การนำแนวปฏิบัติเชิงนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการตลาด เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง ซึ่งรวมถึงการใช้แนวทางการบูรณาการในแนวดิ่งเพื่อควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่การเลี้ยงวัวจนถึงการแปรรูป และการกระจายสินค้า กลยุทธ์ดังกล่าวประกอบด้วย การร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเกษตรกร, การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ, การประกันคุณภาพ, การให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค โดยเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน และการทำกำไรในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อวัว
51
Farmers' market research 1940–2000: An inventory and review
ศึกษาคลังความรู้ และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับตลาดการค้าปลีกของเกษตรกรรายย่อย และตลาดการขายตรงในอเมริกาเหนือตั้งแต่ปี 1940 ถึง 2000 ซึ่งพบว่าจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการผ่านกฎหมายการตลาดขายตรงระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภคในปี 1976 การศึกษาถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ผู้บริโภคและผู้ขาย, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ, ผลกระทบทางสังคม และตลาดของเกษตรกรในฐานะพื้นที่วิจัย มุ่งเน้นไปที่การมองหาองค์ความรู้ที่ยังขาดหายไป และการเพิ่มศักยภาพในการค้นหาความรู้เหล่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ยังระบุถึงความท้าทายด้านระเบียบวิธีในการศึกษาการตลาดขายตรงทางการเกษตร และเรียกร้องให้มีการวิเคราะห์เชิงลึกร่วมกับการอภิปรายผลการวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัยในตลาดเกษตรกรที่ถูกต้องและเชื่อถือได้