
เกื้อกูลความรู้
รวมข้อมูล ทฤษฎี เครื่องมือ กรณีศึกษา งานวิจัย
เศรษฐกิจชุมชน ครอบคลุม การเสริมสร้างศักยภาพ
ธุรกิจชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เครือข่ายความร่วมมือ การบูรณาการร่วมกับสังคม นวัตกรรม
และการประยุกต์ใช้
หมวดหมู่บทความงานวิจัยที่น่าสนใจ
Empowerment Local Enterprise
เสริมศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น
> Market Research: การศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าตรงตามความต้องการมากที่สุด
> R&D (Product/Service): วิจัย และพัฒนา สินค้า/บริการให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมจุดแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
> Financial and Cost Management: การบริหารจัดการการเงิน และต้นทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีสุขภาพการเงินที่ดี
> Management: การบริหารจัดการธุรกิจ, การผลิต, ห่วงโซ่อุปทาน, การขนส่ง, ความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์
> Branding: สร้างแบรนด์ อัตลักษณ์ เพื่อสร้างการจดจำ, ขยายโอกาสทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า
> Entrepreneurial capacity: การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ
Local Economic Development
การพัฒนาเศษฐกิจท้องถิ่น
> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
>Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น
Social Integrated
ความรับผิดชอบต่อสังคม
> support local community activity (sharing): สนับสนุนกลุ่มคน/กิจการ/กิจกรรมภายในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาร่วมกัน อาทิ การให้แบ่งปันความรู้ และทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มเปราะบาง
> enchanting social well-being: การเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของท้องถิ่น เสริมความเข้มแข็ง ความสามัคคี และลดความเหลื่อมล้ำภายในท้องถิ่น
เลือกค้นหาบทความงานวิจัยจากหมวดหมู่
บทความงานวิจัยทั้งหมด
80
The state of social enterprise in South East Asia
นำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของกิจการเพื่อสังคมใน 7 ประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายครอบคลุมหลากหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ บทความเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงและคนรุ่นใหม่ในการนำกิจการเหล่านี้ ทั้งยังศึกษากรอบนโยบาย, ระบบนิเวศสนับสนุน และความต้องการทางการเงินของกิจการเพื่อสังคมในแต่ละประเทศ, การเติบโต, ความท้าทาย และศักยภาพในการพัฒนาในอนาคต โดยพบว่ากิจการเพื่อสังคมมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างในการบริการจัดการเชิงสาธารณะของทางรัฐ และเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนไม่สูงมากสำหรับภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเพื่อส่งเสริมการเติบโตของกิจการเพื่อสังคมในภูมิภาคนี้
79
The Contribution of Micro-enterprises to Economic Recovery and Poverty Alleviation in East Asia
วิเคราะห์ศักยภาพของวิสาหกิจขนาดย่อม และการเงินระดับจุลภาคในการพัฒนาภูมิภาค, การสร้างรายได้, การจ้างงาน, ความหลากหลาย, ข้อจำกัดในการเติบโตฟื้นฟูเศรษฐกิจ และบรรเทาความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกหลังวิกฤตปี 2540 โดยอภิปรายแนวทางการส่งเสริมทั้งแบบยังชีพ และแบบมุ่งเน้นการเติบโต และพูดถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นว่าการเงินระดับจุลภาคมีส่วนช่วยในการลดความยากจนและการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ บทความยังอภิปรายถึงความท้าทายที่วิสาหกิจขนาดย่อมต้องเผชิญ เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน, เทคโนโลยี และการตลาด รวมถึงนโยบายและกลยุทธ์ที่จำเป็นในการสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจเหล่านี้ เพื่อเสริมสร้างบทบาทของพวกเขาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลดความยากจนในเอเชียตะวันออก
78
THE VALUE OF NETWORKS IN ENTERPRISE DEVELOPMENT: CASE STUDIES IN EASTERN EUROPE AND SOUTHEAST ASIA
ศึกษาบทบาทของการสร้างเครือข่ายต่อการพัฒนาวิสาหกิจ จากกรณีศึกษาในยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทความพูดถึงตัวอย่างของความร่วมมือด้านสินเชื่อรายย่อยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการบรรเทาความยากจนในประเทศที่กำลังพัฒนา 2 ตัวอย่างด้วยกัน ได้แก่ กรณีศึกษาความร่วมมือด้านโครงสร้างไมโครไฟแนนซ์ในบังกลาเทศ และกรณีศึกษาความร่วมมือเชิงสถาบันไมโครไฟแนนซ์ในฟิลิปปินส์ บทความได้เน้นย้ำว่าเครือข่าย และทุนทางสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้อพยพ บทความยังเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของแนวทางการทำงานร่วมกันในการส่งเสริมการประกอบการและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเหล่านี้ โดยวิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ นอกจากนี้ ยังอภิปรายถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะในบริบทของประเทศกำลังพัฒนา การศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งเสริมผู้ประกอบการ
77
Best Policy Practices in Small and MediumSized Enterprise Innovation and Technology Transfers for ASEAN and East Asia
ศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยแบ่งนโยบายเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ นโยบายด้านอุปทาน, อุปสงค์ และเชิงระบบ พร้อมอภิปรายข้อดีและข้อเสียของแต่ละกลุ่ม บทความได้ทำการสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษาในไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย และไทย โดยเน้นบทเรียนสำคัญในการปรับนโยบายให้เหมาะกับความสามารถทางเทคโนโลยีของแต่ละธุรกิจ โดยยังรักษาความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบาย และการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังเน้นถึงความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายต้องเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมและระบบที่เกี่ยวข้อง โดยชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนเชิงนสัตกรรมทางการเงินที่ประสบความสำเร็จต้องมีนโยบายเสริมอื่นๆ ร่วมด้วย และเน้นย้ำบทบาทของปัจจัยเชิงสถาบันในการกำหนดทางเลือกและการดำเนินนโยบาย
76
Small Medium, and Micro Enterprise and local economic-base restructuring – a South African local government perspective
ศึกษาบทบาทของวิสาหกิจขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMMEs) ในการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่นของแอฟริกาใต้ โดยเสนอแนวคิดที่ว่า SMMEs มีส่วนสำคัญต่อกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และมีศักยภาพในการลดความไม่เท่าเทียมกันเชิงพื้นที่ระหว่างเมืองและชุมชน บทความยังเสนออีกว่าการพัฒนา SMME ที่เหมาะสมจะช่วยเร่งการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีการพัฒนาดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพหากได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม และเพียงพอจากหน่วยงานเทศบาลท้องถิ่น บทความยังเน้นย้ำถึงศักยภาพของ SMMEs ในการลดการว่างงาน, สร้างรายได้, พัฒนาทักษะ, ลดอาชญากรรม และดึงดูดการลงทุน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจท้องถิ่น
75
ENTREPRENEURIAL RESILIENCE, OPPORTUNITY CONNECTEDNESS AND ENTERPRISE GROWTH OF SMALL & MEDIUM ENTERPRISES (SMES) IN PLATEAU STATE
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นของผู้ประกอบการ, โอกาสด้านเครือข่าย และการเติบโตขององค์กรของ SMEs ในรัฐ Plateau โดยพบว่าปัจจัยทั้ง 3 มีอิทธิพลเชิงบวกซึ่งกันและกัน งานวิจัยยังเน้นย้ำว่าผู้ประกอบการควรพัฒนาความสามารถในการปรับตัว และความหยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ โดยต้องมีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่เสมอ และเปิดรับความคิดเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจได้ นอกจากนั้นยังควรสร้าง และรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
74
ECONOMIC ANALYSIS ON FACTORS AFFECTING ENTREPRENEUR DEVELOPMENT AMONG TRADITIONAL FARMERS AND ROLE OF PRIVATE PUBLIC PARTNERSHIP
ศึกษาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะเกษตรกรหญิงในพื้นที่ชนบท โดยมองว่านอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐาน อาทิ อายุ การศึกษา ความสามารถทางการเงิน แรงจูงใจ และความตั้งใจแล้ว การปรับเปลี่ยนทัศนคติของกลุ่มเกษตรกรก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือนในชนบท โดยเห็นได้จากรายได้, ทรัพย์สิน, การออม และการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นงานวิจัยยังกล่าวถึงความสำคัญและบทบาทขององค์กรและสถาบันสาธารณะรวมถึงการสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันการเงิน
73
The effect of entrepreneurial capacity on the SMES growth in Kigali City
ศึกษาผลกระทบของความสามาถในการประกอบการต่อการเติบโตของ SMEs ในพื้นที่เมืองคิกาลี และเขตกาซาโบ ร่วมกับนโยบาย และความสนุบสนุนต่างๆจากทางภาครัฐ งานวิจัยพบว่าผู้ประกอบการส่วนมากยังขาดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านการบริหารธุรกิจ, การดูแลลูกค้า, การจัดการทางการเงิน, การผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักวิจัยมองว่ามีผลต่อประสิทธิภาพในการประกอบการธุรกิจ และมองว่าการมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มาก และดีเพียงพอขะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ แม้จะได้รับอิทธิพลจากความท้าทายด้านการเงิน อาทิ สินเชื่อที่อยู่อาศัย, หลักทรัพย์ค้ำประกัน, ภาษี และค่าเช่าที่
72
A resilient Startup Leader's personal journey: The role of entrepreneurial mindfulness and ambidextrous leadership through scaling-up performance capacity
นำเสนอแนวคิดเรื่องความยืดหยุ่นของผู้ประกอบการ โดยมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวข้ามความท้าทายในการขยายขนาดของธุรกิจ การวิจัยมุ่งเป้าไปที่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้ และทักษะที่หลากหลายของผู้ประกอบการต่อความศักยภาพ และยืดหยุ่นในการขยายขนาดธุรกิจ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความตระหนักรู้ของผู้ประกอบการมีผลต่อการตัดสินใจ, การจัดการความเสี่ยง และการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ ส่วนทักษะที่หลากหลายของผู้ประกอบการมีผลต่อการสำรวจโอกาสใหม่ๆ, การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ และความสามารถในการปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน ซึ่งจะช่วยให้สามารถขยายขนาดของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ยืดหยุ่น และเติบโตอย่างยั่งยืน
71
Research on the Relationship Between Entrepreneur Human Capital and Entrepreneurial Performance
ระดับความสามารถ และความพยายามในการผลิตของการประกอบการธุรกิจมีผลอย่างมากต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ งานวิจัยให้ความสำคัญอันดับแรกไปที่การจำแนกระดับความสามารถที่มีความแตกต่างและหลากหลาย ผ่านการสร้างแบบจำลองเพื่อคัดกรองข้อมูลต่างๆ การจำแนกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการค้นหาผู้ประกอบการที่มีความพร้อม เพื่อให้การสนับสนุนที่เหมาะแก่ผู้ประกอบการเหล่านั้น จากนั้นงานวิจัยจึงให้ความสำคัญไปที่การใส่ความพยายามของผู้ประกอบการ ในมุมองของผลประโยชน์, สิทธิ์ในการควบคุม, ความจำเป็นของชื่อเสียง และกลไกการกำกับดูแล ในส่วนสุดท้ายของบทความจะว่าด้วยความสัมพนธ์ระหว่างความสามารถของผู้ประกอบการ และความพยายามในการผลิตของพวกเขา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันภายใต้เงื่อนไขบางประการ