
เกื้อกูลความรู้
รวมข้อมูล ทฤษฎี เครื่องมือ กรณีศึกษา งานวิจัย
เศรษฐกิจชุมชน ครอบคลุม การเสริมสร้างศักยภาพ
ธุรกิจชุมชน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เครือข่ายความร่วมมือ การบูรณาการร่วมกับสังคม นวัตกรรม
และการประยุกต์ใช้
หมวดหมู่บทความงานวิจัยที่น่าสนใจ
Empowerment Local Enterprise
เสริมศักยภาพธุรกิจท้องถิ่น
> Market Research: การศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าตรงตามความต้องการมากที่สุด
> R&D (Product/Service): วิจัย และพัฒนา สินค้า/บริการให้มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมจุดแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
> Financial and Cost Management: การบริหารจัดการการเงิน และต้นทุนอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจมีสุขภาพการเงินที่ดี
> Management: การบริหารจัดการธุรกิจ, การผลิต, ห่วงโซ่อุปทาน, การขนส่ง, ความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์
> Branding: สร้างแบรนด์ อัตลักษณ์ เพื่อสร้างการจดจำ, ขยายโอกาสทางตลาด และสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า
> Entrepreneurial capacity: การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ
Local Economic Development
การพัฒนาเศษฐกิจท้องถิ่น
> Job Creation: สร้างโอกาสการทำงาน/งานใหม่ๆ ภายในท้องถิ่น
>Local supply chains: ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบ, สินค้าและบริการในพื้นที่ สร้างการหมุนเวียนเศษฐกิจภายในท้องถิ่น
> improve live standard: การยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น
Social Integrated
ความรับผิดชอบต่อสังคม
> support local community activity (sharing): สนับสนุนกลุ่มคน/กิจการ/กิจกรรมภายในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาร่วมกัน อาทิ การให้แบ่งปันความรู้ และทรัพยากรท้องถิ่น กลุ่มเปราะบาง
> enchanting social well-being: การเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของท้องถิ่น เสริมความเข้มแข็ง ความสามัคคี และลดความเหลื่อมล้ำภายในท้องถิ่น
เลือกค้นหาบทความงานวิจัยจากหมวดหมู่
บทความงานวิจัยทั้งหมด
70
Influence of the entrepreneur's capacity in business performance
ศึกษาแบบจำลองเชิงทฤษฏีที่ว่าด้วยความสามารถ และอิทธิพลของผู้ประกอบการต่อการดำเนินงานของธุรกิจ โดยระบุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ประกอบการและ/หรือความสามารถที่ส่งผลต่อความสามารถของผู้ประกอบการ ทั้งปัจจัยภายใน อาทิ การฝึกอบรม, ประสบการณ์ และความมั่นใจ รวมถึงปัจจัยภายนอก อาทิ ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ งานวิจัยทำการศึกษษผ่านกรณีของบริษัทท่องเที่ยวในภูมิภาค Mar Menor (สเปน) โดยพบว่าความมั่นใจของผู้ประกอบการและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงาน และความสำเร็จของธุรกิจการท่องเที่ยวมากที่สุด
69
Addressing poverty through local economic and enterprise development: A review of conceptual approaches and practice
ศึกษาเรื่องการพัฒนาธุรกิจท้องถิ่นในพื้นที่ชนบทและศูนย์กลางเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง (SIUC) ในมุมมองของการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆทีมีผลต่อการพัฒนา อาทิ การวิเคราะห์รูปแบบ และข้อจำกัดของกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา, ประเด็นปัญหาเชิงพื้นที่ในการกำหนดขอบเขตระหว่างชนบนและเมือง เพื่อหาปัญหาที่แท้จริง, ประเด็นการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงให้ทันยคโลกาภิวัตน์ ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังนำเสนอกรอบการพัฒนาธุรกิจ และเศรษฐกิจชุมชน และยังเน้นย้ำประเด็นด้านการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ ในมิติของความไม่เท่าเทียมกันในการพัฒนา, ความรับผิดชอบ และโครงสร้างพื้นฐาน
68
Unlocking the potential of rural social enterprise
ธุรกิจเพื่อสังคมสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชนบท โดยเน้นความเชื่อมโยงระหว่างความต้องการในชนบท และแนวทางแก้ไขที่เกิดขึ้นผ่านธุรกิจเพื่อสังคม โดยใช้การศึกษาเชิงสำรวจในพื้นที่ชนบทของสกอตแลนด์ ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงบทบาทของธุรกิจเพื่อสังคมในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน, การให้บริการสาธารณะที่จำเป็น, การสร้างความสามัคคีในชุมชน และการสร้างสินค้า/บริการที่ตรงกับความต้องการของชุมชน บทความได้เสนอให้ก้าวข้ามแนวทางการกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจเพื่อสังคม และหน่วยงานสาธารณะเพื่อสร้างความเชื่อใจของคนในชุมชน และปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจเพื่อสังคมในชนบทอย่างเต็มที่
67
Product Innovation in Small and Large Enterprises
ความแตกต่างในผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ อันมีปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมในภูมิภาค, ลักษณะของการประกอบการ และเครือข่ายนวัตกรรมที่ธุรกิจนั้น ๆ เข้าร่วม ในกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก การศึกษาจะเน้นไปที่ความสำคัญของเครือข่ายท้องถิ่นและการมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีบทบาทในภูมิภาค ซึ่งสามารถช่วยให้การปรับตัวและการดำเนินงานนวัตกรรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจขนาดเล็กมักพึ่งพาโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและการมีส่วนร่วมส่วนตัวที่สูงของเจ้าของ ซึ่งอาจนำไปสู่นวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และตอบสนองความต้องการได้อย่างจำเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตามก็อาจต้องเผชิญกับความท้าทาย เช่น ทรัพยากรที่จำกัด และการเข้าถึงตลาดที่จำกัด ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรที่มากกว่า กระบวนการวิจัยและพัฒนาที่เป็นระบบ และความสามารถในการใช้ประโยชน์จากการผลิตจำนวนมาก เน้นการต่อยอดผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว จุดแข็งของธุรกิจขนาดใหญ่คือ สามารถเข้าถึงตลาดระหว่างประเทศ และได้รับการสนับสนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่า อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์นวัตกรรมของพวกเขาอาจช้ากว่า เนื่องจากข้อจำกัดทางการบริหารและความซับซ้อนในการจัดการองค์กรขนาดใหญ่
66
Local culture as a context for entrepreneurial activities
ศึกษา industrial legacy มีอิทธิพลต่อการสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างไร และวัฒนธรรมเหล่านั้น มีบทบาทอย่างไรในการสนับสนุนกิจกรรมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใหม่ๆ โดยเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะปัจจัยขับเคลื่อนผู้ประกอบการ และการเติบโตทางเศรษฐกิจ งานวิจัยนี้ใช้กรณีศึกษาเชิงคุณภาพจากเมืองในสวีเดนที่มีความแตกต่างกันจำนวน 2 แห่ง โดยระบุปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่มีส่วนในการสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ สภาวการณ์ตั้งต้น, ลักษณะของผู้มีบทบาทหลัก, กิจกรรมเครือข่าย และองค์ประกอบของผู้มาใหม่ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นแนวทางของผู้ประกอบการท้องถิ่นว่าต้องปรับตัวอย่างไรต่อบริบททางวัฒนธรรมของตน และยังชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆเป็นผลมาจากการผสมผสานปัจจัยภายนอก และมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
65
Local enterprise and development in tourism
สำรวจบทบาทของธุรกิจท้องถิ่น ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ในการส่งเสริมการพัฒนาในภาคการท่องเที่ยว โดยระบุถึงการมีส่วนร่วมสำคัญของพวกเขาในเศรษฐกิจท้องถิ่นและการพัฒนาชุมชน โดยแนะนำกลยุทธ์ และปัจจัยต่างๆ ที่ธุรกิจท้องถิ่นสามารถใช้เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืน อาทิ การสร้างนวัตกรรม, การร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น และการใช้ประโยชน์จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และทรัพยากรท้องถิ่นบทความนี้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งเวลส์ โดยแสดงให้เห็นว่าธุรกิจท้องถิ่นสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาในภาคการท่องเที่ยวได้อย่างไร แนวทางนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น แต่ยังเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรวม ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการท้องถิ่นที่หลากหลายและแท้จริง
64
Local enterprise companies and rural development
ศึกษาบทบาทของ Local Enterprise Companies (LECs) ซึ่งเป็นเครือข่ายของหน่วยงานพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ดำเนินการภายใต้นโยบายขององค์กรพัฒนาภูมิภาคที่ชื่อว่า Scottish Enterprise โดย LECs ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาด และส่งเสริมด้านความร่วมมือ บทความเน้นย้ำความสำคัญของการเข้าใจสภาพแวดล้อมและปัจจัยภายนอกในภาพมุมกว้าง ทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ,สังคม และการเมือง รวมไปถึงการกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางไปยังหน่วยงานที่นำโดยภาคเอกชน, ความรับผิดชอบ, ลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชุมชน และการพัฒนาบทเรียนสำหรับหน่วยงานพัฒนาระดับภูมิภาค แนวทางของ LECs ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน และการจัดตั้งหน่วยงานที่คล้ายคลึงกันในประเทศอื่นๆ
63
THE ROLE OF COST MANAGEMENT STRATEGIES FOR SME BUSINESS: A CONCEPTUAL FRAMEWORK
ศึกษาความรู้เชิงวิเคราะห์ในการวางกลยุทธ์ด้านการจัดการต้นทุนในการสร้างความยั่งยืนทางการเงินให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งในมุมมองขององค์ความรู้ และกรอบแนวคิด ซึ่งมองว่าจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาและการเติบโตของธุรกิจ และเพิ่มการจ้างงานทั่วโลก โดยมีการอภิปรายถึงข้อดีและข้อเสียของกลยุทธ์การจัดการต้นทุนแบบมาตรฐาน นอกจากนี้ยังเน้นความสำคัญของความรู้ด้านการจัดการการเงินสำหรับองค์กร และผู้ประกอบการ โดยสนับสนุนการสร้างกลยุทธ์เฉพาะสำหรับธุรกิจแต่ละประเภท
62
Financial literacy of entrepreneurs: a systematic review
ศึกษาระดับความรู้ในเรื่องการเงินของผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดเล็ก (MSMEs) ทั่วโลก เพื่อสร้างแบบจำลองการวิจัยที่มุ่งช่วยเหลือผู้กำหนดนโยบายในการพัฒนาการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการ ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบในการเข้าถึงด้านการเงินจากการทบทวนวรรณกรรม โดยพบว่าโดยส่วนมากแล้วอยู่ในระดับต่ำ งานวิจัยจึงเน้นให้ความสำคัญในการเสริมความรู้ที่ดีด้านการเงิน, ร่วมกับการเข้าถึงแหล่งทุน และการมีนโยบายที่ช่วยสนับสนุนที่ดีพอที่มากพอจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ และการเติบโตของธุรกิจได้ จากการทบทวนวรรณกรรมยังชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนวิธีการมาตรฐานในการวัดความรู้ทางการเงินของผู้ประกอบการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือประเมินในด้านนี้
61
Social enterprise as a model for change: mapping a global cross-disciplinary framework
บทบาทของภาคการศึกษาในทุททองของการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม และการสร้างผู้ประกอบการ โดยการนำเสนอแนวคิดเรื่อง “ธุรกิจเพื่อสังคม” ทั้งในด้านของการศึกษา, การฝึกอบรม และการมีส่วนร่วม การศึกษายกกรณีของการประกอบการในอินเดีย และสหราชอาณาจักร เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของธุรกิจเพื่อสังคมต่อความไม่เท่าเทียมทางสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาวิชาธุรกิจเพื่อสังคม และสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องเพื่อความยั่งยืน ทั้งยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และการสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณะเกี่ยวกับแนวคิดของธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อให้สังคมยอมรับและเข้าใจความรู้ที่มีประโยชน์ในด้านนี้